แต่งงาน ลำดับขั้นตอนการแต่งงานพิธีเช้า แบบครบถ้วนสมบูรณ์

ลำดับขั้นตอนพิธีการแต่งงานช่วงเช้า แบบครบถ้วนสมบูรณ์

พิธีแต่งงานแบบไทย มีคู่บ่าวสาวที่กำลังมีแพลนแต่งงานในปัจจุบัน มีน้อยคู่ที่จะรู้ว่าลำดับขั้นตอนของพิธีแต่งงานตามแบบประเพณีไทยแท้นั้น มีอะไรบ้าง วันนี้ Ruk Wedding ขอนำความรู้เกี่ยวกับการจัดพิธีมงคลสมรสเช้า หรือลำดับพิธีการจัดงานแต่งงานพิธีเช้าตามขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยว่ามีลำดับขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งพิธีในช่วงเช้านั้นมีหลายลำดับขั้นตอน และก็ไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวเช่นเดียวกัน ซึ่งก็แล้วแต่ธรรมเนียมปฏิบัติตามแต่ละภูมิภาคที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งอาจจะมีการยืดหยุ่นหรือเพิ่มเติมในส่วนอื่น ๆ ได้บ้าง เพื่อให้การจัดงานแต่งงานนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตรงตามเลิศมงคลของคู่บ่าวสาว

สำหรับพิธีในช่วงเช้าของการแต่งงาน ส่วนใหญ่จะเริ่มตามฤกษ์ยามงามดีของแต่ละคู่ โดยเป็นช่วงของการจัดพิธีทางศาสนาพุทธเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นจะเป็นพิธีแห่ขันหมาก ซึ่งมักจะเริ่มในเวลา 09.09 น. (หรือตามฤกษ์ยามงามดีของแต่ละคู่) ด้วยความเชื่อที่ว่าเลข 9 เป็นเลขมงคล จะทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า ซึ่งถือเป็นเลขที่เป็นมงคลที่สุดในการเริ่มพิธีงานแต่งงานที่บ่าวสาวหลายคู่และผู้หลักผู้ใหญ่มักยึดถือปฏิบัติกัน โดยมีขั้นตอนของพิธีการแต่งงานในช่วงเช้า ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1  พิธีสงฆ์

พิธีการแรกเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลในงานแต่งงานของคู่บ่าวสาว นั่นก็คือพิธีสงฆ์ อันเป็นงานมงคลแก่คู่บ่าวสาว เพื่อจะอำนวยอวยพรให้คู่บ่าวสาวอยู่ครองคู่กันอย่างมีความสุข โดยในงานแต่งงานส่วนใหญ่ มักจะนิมนต์พระสงฆ์เป็นเลขคู่ เช่น 6 รูป 8 รูป หรือ 10 รูป ซึ่งท่านถือเป็นเคล็ดให้บ่าวสาวครองคู่กันยืนยาวตลอดไป ไม่แยกจากกัน รักกันคู่กันตลอดไป แต่มีบางตำราก็นิยมนิมนต์พระมา 9 รูป เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ชีวิตคู่ ครองคู่กันชั่วนิรันดร์ มีแต่ความเจริญก้าวหน้าตลอดไป ก็ได้เช่นเดียวกัน และเมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้วลำดับต่อไป คือ พิธีการแห่ขบวนขันหมาก หรืออีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน คือ ทำหลังจากประกอบพิธียกขันหมาก สู่ขอ และประกอบพิธีหมั้นจนเสร็จแล้วจึงค่อยประกอบพิธีสงฆ์ก็ได้เช่นกัน

สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์มีขั้นตอน ได้แก่ เมื่อพระสงฆ์มาถึงและนั่งที่อาสน์แล้ว คู่บ่าวสาวจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล และรับศีล 5 จากนั้นพระสงฆ์ จะเจริญสูตรคาถาอันเป็นมงคล พร้อมทำน้ำมนต์สำหรับใช้ในพิธี แล้วต่อด้วยการตักบาตร ในกรณีที่พิธีสงฆ์เริ่มในช่วงเช้า แล้วตามด้วยการถวายสังฆทาน หรือหากเริ่มพิธีในช่วงสายจะถวายสังฆทานก่อนแล้วตามด้วยการถวายภัตราหารเพล ซึ่งบางกรณีอาจมีการจัดเป็นปิ่นโตอาหารถวายเพื่อความสะดวก ถวายพร้อมดอกไม้ ธูป เทียน ปัจจัย เครื่องไทยธรรม หลังจากนั้นพระสงฆ์จะเจริญชัยมงคลคาถา พร้อมประพรมน้ำมนต์ให้แก่คู่บ่าวสาวและแขกที่เข้าร่วมพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลจึงเป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์

 

ขั้นตอนที่ 2  พิธียกขันหมาก การตั้งขบวนและการแห่ขันหมาก รับขันหมาก

ขั้นตอนพิธีแห่ขันหมากในปัจจุบันนิยมจัดพิธีหมั้นและตามด้วยพิธีขอแต่งงานในวันเดียว ดังนั้น จึงมีการวมเอา ขันหมากหมั้นและขันหมากแต่งเข้าไว้ด้วยกันในการแห่ขันหมาก โดยในขันหมากแต่งจะที่มีทั้ง ขันหมากเอก และ ขันหมากโท และเมื่อตั้งขบวนขันหมากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามประเพณีปฏิบัติส่วนใหญ่จะมีขบวนกลองยาว หรืออาจจะเพิ่มขบวนนางรำ เพื่อรำนำขบวนขันหมากตามด้วยขบวนกลองยาว พร้อมโห่ร้องเพลงแห่ขันหมากเพื่อสร้างความครึกครื้น และตามด้วยขบวนขันหมากเอก-ขันหมากโท โดยขั้นตอนนี้ต้องให้เจ้าสาวเตรียมตัวรอขันหมากบนบ้าน ส่วนเจ้าบ่าวก็จะไปบริเวณที่จัดขบวนขันหมากเตรียมตัวรอฤกษ์เคลื่อนขบวนมาบ้านเจ้าสาว เมื่อได้ฤกษ์เคลื่อนขบวนจะเริ่มด้วยการโห่ร้องรับกัน 3 ครั้ง เพื่อเป็นการให้สัญญาณว่า ขันหมาก พร้อมแล้วที่จะเคลื่อนขบวน กลองยาวจะทำหน้าที่บรรเลงรับต่ออย่างครื้นเครง เมื่อขบวนเดินทางมาถึงบ้านของฝ่ายเจ้าสาว หรือ ณ สถานที่จัดงานแต่งงาน จากนั้นเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาว ขบวนขันหมากจะโห่ร้องรับกัน 3 ครั้ง เพื่อเป็นการบอกกับฝ่ายเจ้าสาวว่าขบวนขันหมาก ได้เดินทางมาถึงแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงก็ไปรอต้อนรับขบวนขันหมาก พร้อมกับให้เด็กหญิง (นิยมให้เด็กหญิง อายุราว 6 – 8 ขวบ ถือพรหมจรรย์) ถือพานหมากที่จัดเป็นจำนวนคู่ไว้สำหรับไว้ต้อนรับ จากนั้นขบวนขันหมากก็จะเตรียมตัวเข้าไปในบ้าน ซึ่งจะต้องผ่านด่าน ประตูทั้ง 3 คือ ประตูนาก ประตูเงิน และประตูทอง โดยเจ้าบ่าวจะเตรียมซองไว้ เพื่อเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนขอผ่านประตู

 

ขั้นตอนที่ 3  พิธีกั้นประตูเงิน ประตูทอง

เมื่อขบวนขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าวเดินทางมาถึงบ้านของฝ่ายเจ้าสาว บรรดาญาติของฝ่ายเจ้าสาวจะมาช่วยกันกั้นประตูเงินประตูทอง ด้วยสายร้อยดอกรัก สายสร้อยทอง สร้อยเงิน เข็มขัดเงิน ทอง นาค โดยจะถือกันคนละด้าน จะใช้กั้นประตู ซึ่งถือเป็นด่านสำคัญที่ไม่ยอมให้เจ้าบ่าวผ่านประตูไปได้ง่ายๆ ซึ่งบรรดาญาติฝั่งเจ้าสาวต่างก็มีวิธีการเพื่อเรียกค่าเปิดทางจากฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งถ้าอิงประเพณีหลักดั้งเดิมก็จะมีประตูหลัก ๆ 3 ประตู คือ ประตูนาก ประตูเงิน ประตูทอง หรือจะเรียกประตูชัย ประตูเงิน และประตูทองก็ได้เช่นกัน โดยฝ่ายชายหรือจะเรียกว่าเถ้าแก่ฝ่ายชายหรือนายขันหมากจะต้องเจรจาขอผ่านทาง และต้องให้ซองใส่เงิน เพื่อขอผ่านทางแก่ผู้กั้นประตู ซึ่งการกั้นประตูด่านแรกนี้อาจจะกั้นตั้งแต่ประตูรั้วทางเข้าบ้าน ซ่างกว่าจะเข้าไปในบ้านเจ้าสาวได้นั้นอาจต้องผ่านด่านกั้นประตูถึง 9 ประตู เป็นอย่างต่ำหรือบางงานอาจจะมากกว่านั้น ขึ้นอยู่ที่บรรดาเพื่อนๆ และญาติเจ้าสาวจะกั้นประตู หลังจากผ่านประตูทุกด่านเรียบร้อยแล้ว จะมีเด็กหญิงญาติของฝ่ายหญิงเตรียมล้างเท้าให้กับเจ้าบ่าว จากนั้นฝ่ายหญิงจะจัดเด็กผู้หญิงถือพานหมากพลูไว้รอเชิญขบวนขันหมากขึ้นเรือน ซึ่งเจ้าบ่าวต้องเตรียมซองเงินไว้เป็นรางวัลด้วยเช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

error: Content is protected !!